วันอาทิตย์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7 วันที่ 13 มีนาคม 2560








ความรู้ที่ได้

อาจารย์ให้ดูนิทาน เรื่อง กับดักหนู



หนูตัวหนึ่งแอบมองลอดรอยแตกของกำแพง
เพื่อดูว่าชาวนากับภรรยาของเขาแกะห่ออะไร
“จะเป็นอาหารอะไรหนอ” เจ้าหนูสงสัย
มันแทบล้มทั้งยืน เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นคือ‘กับดักหนู’
มันจึงวิ่งหัวซุกหัวซุน
ไปที่ทุ่งนา แล้วส่งเสียงร้องเตือน
“มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
แม่ไก่ร้องกุ๊กๆ และคุ้ยเขี่ยไปมา มันผงกหัวขึ้นแล้วพูดว่า
“คุณหนู นี่คงเป็นเรื่องเศร้าสำหรับเธอ แต่มันไม่มีผลอะไรกับฉันหรอกนะ อย่ากวนใจกันเลย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาหมูและบอกแก่มัน
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! ”
หมูเห็นอกเห็นใจ แต่ก็พูดว่า
“ ฉันขอโทษนะคุณหนู แต่ฉันคงทำได้แค่สวดมนต์เท่านั้น ไม่ต้องห่วงฉันจะสวดมนต์ให้เธอด้วย”
เจ้าหนูวิ่งไปหาวัว และพูดว่า
“ มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! มีกับดักหนูอยู่ในบ้าน! “
วัวตอบว่า “ โธ่! คุณหนู ฉันก็เสียใจด้วยนะ แต่มันไม่เห็นเกี่ยวอะไรกับฉันนี่ ”
ดังนั้น เจ้าหนูจึงกลับเข้าบ้าน
นอนลงและเศร้าใจเหลือเกิน
ที่จะต้องเผชิญหน้ากับกับดักหนูเพียงลำพัง
กลางดึกคืนนั้น
เสียงๆ หนึ่งดังก้องไปทั้งบ้าน ฟังเหมือนเสียงกับดักหนูได้จับเหยื่อของมันแล้ว
ภรรยาของชาวนารีบรุดไปดูว่าอะไรที่ถูกจับ
ในความมืดนั้นเธอไม่เห็นว่ามีงูพิษถูกกับดักนั้นหนีบหางเอาไว้
งูกัดภรรยาของชาวนา ชาวนาจึงรีบพาเธอไปส่งโรงพยาบาล
ตอนกลับบ้านเธอมีไข้สูง ใครๆ ก็รู้ว่าเราต้องพยาบาลคนป่วยด้วยซุปไก่
ดังนั้นชาวนาจึงหยิบขวานเดินไปที่ทุ่งเพื่อฆ่าไก่มาทำซุป
แต่อาการป่วยของภรรยาก็ยังไม่ดีขึ้น
เพื่อนฝูงและเพื่อนบ้านต่างมาเยี่ยมดูใจ
เพื่อเลี้ยงอาหารพวกเขา ชาวนาจึงฆ่าหมูซะ
ภรรยาของชาวนาก็ยังไม่หาย ในที่สุดเธอก็ตายลง
ผู้คนมากมายต่างมางานศพของเธอ
ชาวนาจึงฆ่าวัวเพื่อให้ได้เนื้อมากพอมาเลี้ยงแขก
เจ้าหนูมองลอดรอยแตกของกำแพงด้วยความเสียใจสุดแสน


นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
อะไรที่มันเกี่ยวกับเรา อย่าพึ่งคิดว่าไม่เกี่ยว ถ้ามันเกิดขึ้นกับเรา เรามีกระทบหมด เวลาจะเวลาไหน หรือผลที่ตามมา เมื่อพวกเราคนใดคนหนึ่งถูกคุกคาม เราทุกคนต่างตกอยู่ในอันตราย!เพราะทุกคนล้วนเกี่ยวพันกันอยู่ในการเดินทางที่เรียกว่า #ชีวิต
เราต้องคอยเฝ้าดูแลกันและกัน และพยายามให้กำลังใจอีกคนเข้าไว้




 "ทฤษฎีพหุปัญญา"
 ซึ่งมีแนวคิดว่าความฉลาดของมนุษย์ แบ่งได้ 8 ด้าน ประกอบด้วย

  1. ความฉลาดด้านภาษา (Linguistic)
  2.  ความฉลาดด้านมิติสัมพันธ์ (Spatial)
  3. ความฉลาดด้านคณิตศาสตร์และตรรกะ (Logical-Mathematical) 
  4. ความฉลาดด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Intrapersonal)
  5. ความฉลาดด้านดนตรี (Musical)
  6. ความฉลาดด้านเข้าใจตนเอง (Interpersonal)
  7. ความฉลาดด้านร่างกาย (Bodily –Kinesthetic)
  8.  ความฉลาดด้านรู้จักธรรมชาติ (Naturalistic)



  • 5 ลักษณะ ของ Project  Approach

  1. การอภิปราย
  2. การนำเสนอประสบการณ์เดิม
  3. การทำงานภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง



ดูโทรทัศน์ครู การสอนแบบ Project Approach โรงเรียนเกษมพิทยา




การจัดการเรียนรู้แบบโครงการ (Project Approach) ระดับประถมวัย มี 5 ขั้นตอน 

หัวใจสำคํญต่อความสำเร็จ คือ การเรียนรู้ภาคสนาม และครูเชื่อว่าทำได้

ครูสาธิตการสอนกิจกรรมเสริมประสบการณ์









เทคนิคและการนำไปใช้

  • คำพูดที่ใช้ในการเกริ่นเรื่องหรือคำถามที่กระตุ้นให้เด็กได้คิดเเละช่วยกันหาคำตอบเทคนิคการเขียน การนั่งที่ไม่บังกระดาน การใช้คำถามย้ำๆเพื่อดึงดูดความสนใจของเด็กให้เด็กมีสมาธิการสิ่งที่เรียนอยู่ 
หัวเรื่องเเละทำให้เด็กได้รู้ว่าเรียนเรื่องนี้ไปแล้วรูปแบบที่จะนำมาใช้ เช่น ตาราง แผนผัง การเเตกความคิดที่เด็กสามารถเข้าใจได้ง่าย


ประเมินตนเอง

ตั้งใจฟังอาจารย์ผู้สอน ระหว่้างที่สอนก็ได้รับปรึกษาเกี่ยวกับการสอน ในครั้งต่อไปเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมประสบการ์ณ
 ประเมินเพื่อน
เพื่อนในห้องเรียนมีความสนใจในสิ่งที่อาจารย์สอน มีการเตรียมตัว เตรียมความพร้อมในการสอน
 ประเมินห้องเรียน
ห้องเรียนสะอาด น่าเรียน อุปกรณ์การเรียนครบถ้วน
 ประเมินอาจารย์
แต่งกายอย่างเหมาะสม เข้าสอนตรงเวลา ระหว่างการเรียนมีกิจกรรมให้ทำเเบบน่าสนใจ ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น ในเนื้อหา และอธิบายเทคนิคการสอนเสริมประสบการณ์ให้ ที่ให้ดูมีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น